เนื้อหาทั้งหมดและภาพประกอบในเนื้อหาของเว็บบล็อกนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไม่อนุญาตให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่แสวงหาผลประโยชน์ ยกเว้นการลิงก์เข้าสู่เว็บบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

LPG กับ CNG (NGV)

เมนูสำหรับสมาร์ทโฟน
เปิดบทความของเว็บบล็อกเคมี, ฟิสิกส์

ข้อแตกต่างของก๊าซหรือแก๊ส LPG กับ CNG (NGV)

          ข้อแตกต่างของก๊าซหรือแก๊ส LPG กับ CNG (NGV) ที่นำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเบนซิน ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ามาจึงขอสรุปเปรียบเทียบเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้

ข้อเปรียบเทียบ
LPG
CNG หรือ NGV
1. ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษ
Liquefied Petroleum Gas
Compressed Natural Gas
หรือ
Natural Gas for Vehicles
2. ชื่อในภาษาไทย
ก๊าซ (แก๊ส) ปิโตรเลียมเหลว
ก๊าซ (แก๊ส) ธรรมชาติอัด
หรือ
ก๊าซ (แก๊ส) ธรรมชาติสำหรับยานยนต์
3. ชื่อและสูตรทางทางเคมี
Propane (C3H8)
ประมาณ 60 ถึง 70%
Butane (C4H10)
ประมาณ 40 ถึง 30%
Methane (CH4)
4. จุดเดือด (องศา ซ.)
-50 ถึง 0
-162
5. สถานะในอากาศ
ก๊าซ (แก๊ส) หนักกว่าอากาศ
ก๊าซ (แก๊ส) เบากว่าอากาศ
6. อุณหภูมิจุดระเบิดในอากาศ (องศา ซ.)
400
540
7. ช่วงติดไฟในอากาศ (% โดยปริมาตร)
1.5 ถึง 15
5 ถึง 15
8. ค่าความร้อนจำเพาะ
(MJ/kg)
46.1
47.7
9. ค่าตัวเลขต้านทานการน็อก (Research Octane Number)
105
120
10. ความดันแกํสในถัง
สถานะเป็นของเหลว
100 ถึง 120 psi
(ประมาณ 6 ถึง 8 bar)
สถานะเป็นก๊าซ (แก๊ส)
ปกติ 2,200 ถึง 2,800 psi
เต็มถัง 3,000 psi
(ประมาณ 200 bar)
11. ถังทำจากเหล็กหนา
2.5 mm
8 ถึง 9 mm
12. การลดความดันของหม้อต้มสำหรับระบบหัวฉีด
ลด 1 ขั้น เหลือ 2.2 bar
ลดขั้นที่ 1 เหลือ 10 bar
ลดขั้นที่ 2 เหลือ 2 ถึง 3 bar
13. ความหนาแน่นที่ 0 องศา ซ. ความดันบรรยากาศ (kg/m3)
2.25
(ถ้าเป็นของเหลวคือ 0.54 Kg/l)
0.83

ที่มาของข้อมูลจาก
Automotive Handbook (Bosch)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น